การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยากโดยแพทย์

การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยากโดยแพทย์ 

ก้าวแรกสู่การวางแผนการรักษาอย่างตรงจุด

ภาวะมีบุตรยากเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในคู่สมรสปัจจุบัน ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัยทั้งในฝ่ายชายและฝ่ายหญิง การเข้ารับคำปรึกษาและการตรวจวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยากโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการค้นหาสาเหตุที่แท้จริง และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ภาวะมีบุตรยากคืออะไร?

ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) หมายถึง การที่คู่สมรสพยายามมีบุตรโดยมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอและไม่คุมกำเนิดเป็นระยะเวลา 1 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ในกรณีที่ฝ่ายหญิงอายุมากกว่า 35 ปี ระยะเวลาอาจลดลงเหลือ 6 เดือน

ขั้นตอนการวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก

1. ซักประวัติและให้คำปรึกษาเบื้องต้น

แพทย์จะสอบถามประวัติทางการแพทย์ ประวัติการมีบุตร ประวัติการมีประจำเดือนของฝ่ายหญิง รวมถึงประวัติสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ ชีวิตของทั้งสองฝ่าย และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการมีบุตร เช่น การดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

2. การตรวจหาสาเหตุในฝ่ายหญิง

  • การตรวจเลือด: ตรวจฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ เช่น ฮอร์โมน FSH, LH, AMH เพื่อประเมินการทำงานของรังไข่และภาวะการตกไข่
  • การตรวจอัลตราซาวด์มดลูกและรังไข่: ตรวจดูความผิดปกติของมดลูก เช่น เนื้องอก, ถุงน้ำรังไข่ (PCOS) หรือปัญหาอื่น ๆ
  • การตรวจท่อนำไข่ด้วยการฉีดสี (HSG): ตรวจดูความผิดปกติหรือการอุดตันของท่อนำไข่ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไข่และอสุจิไม่สามารถปฏิสนธิกันได้ (ทางคลินิกจะทำการประสานงานส่งต่อให้ผู้รับบริการ)
  • การตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก: เพื่อตรวจดูความพร้อมในการฝังตัวของตัวอ่อน

3. การฉีดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก

  • การวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ (Semen Analysis): ตรวจจำนวน การเคลื่อนไหว และรูปร่างของอสุจิ เพื่อประเมินคุณภาพและความสมบูรณ์
  • การตรวจเลือดดูฮอร์โมน: ตรวจฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและฮอร์โมนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอสุจิ
  • การตรวจเพิ่มเติม: เช่น การตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมหรือภาวะความเสียหายของ DNA อสุจิ (Sperm DNA Fragmentation)

4. การตรวจพิเศษเพิ่มเติม

  • การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก (Hysteroscopy): เพื่อตรวจหาความผิดปกติภายในโพรงมดลูก เช่น พังผืด, โพรงมดลูกผิดรูป หรือเนื้องอก
  • การผ่าตัดส่องกล้องตรวจช่องท้อง (Laparoscopy): เพื่อตรวจดูความผิดปกติในอุ้งเชิงกราน เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)(ทางคลินิกจะทำการประสานงานส่งต่อให้ผู้รับบริการ)

สาเหตุหลักของภาวะมีบุตรยาก

ฝ่ายหญิง

  • ภาวะไข่ไม่ตกหรือไข่ตกไม่สม่ำเสมอ
  • ความผิดปกติของมดลูกหรือท่อนำไข่ เช่น ท่อนำไข่อุดตัน, เนื้องอกในมดลูก
  • ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย (Premature Ovarian Failure)
  • ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

ฝ่ายชาย

  • คุณภาพน้ำเชื้อไม่ดี เช่น จำนวนอสุจิน้อย อสุจิเคลื่อนไหวผิดปกติ
  • ความผิดปกติของฮอร์โมนหรือโรคบางชนิด เช่น การติดเชื้อที่อวัยวะสืบพันธุ์

แนวทางการรักษาภาวะมีบุตรยาก

หลังการวิเคราะห์หาสาเหตุ แพทย์จะวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับคู่สมรสแต่ละคู่ เช่น

  1. การให้ยากระตุ้นไข่ตก สำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาไข่ไม่ตก
  2. การผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติ เช่น การผ่าตัดเนื้องอกในมดลูก หรือการรักษาท่อนำไข่อุดตัน
  3. การทำ IUI (ฉีดเชื้อผสมเทียม) สำหรับกรณีที่คุณภาพอสุจิอยู่ในเกณฑ์ดีและท่อนำไข่ปกติ
  4. การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI) สำหรับผู้ที่มีปัญหาซับซ้อน เช่น ท่อนำไข่อุดตันรุนแรง, คุณภาพอสุจิต่ำ
  5. การแช่แข็งอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อน เพื่อการวางแผนการรักษาในอนาคต

สรุป

การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยากโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการค้นหาสาเหตุและแนวทางการรักษาอย่างถูกต้อง การตรวจอย่างละเอียดทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการตั้งครรภ์ และยังช่วยให้คู่สมรสมีแผนการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น

หากคุณกำลังประสบปัญหาภาวะมีบุตรยาก สามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของเราได้

สร้างครอบครัวที่สมบูรณ์ ด้วยความเชี่ยวชาญที่คุณไว้วางใจ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy